messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลคําครั่ง info_outline ข้อมูลการติดต่อ
องค์การบริหารส่วนตำบล
คำครั่ง
อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลคําครั่ง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
check_circle องค์ความรู้ที่อื่นๆ-ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กร
ศูนย์บริการร่วม
ศูนย์บริการร่วม พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 30 กำหนดให้กระทรวงจะต้องจัดให้ส่วนราชการภายใน ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริการประชาชน ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย หรือกฎอื่นใด ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องใดๆ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ในกระทรวงเดียวกัน โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว จากแนวคิดการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centered) และมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อให้การบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะนำมาซึ่งความพึงพอใจสูงสุดของผู้มาใช้บริการ โดยแนวทางหนึ่งนั้น ได้แก่ การนำเสนอเอารูปแบบศูนย์บริการร่วม (Service Link) มาใช้บริการประชาชน ในเรื่องต่างๆ ของหน่วยงานราชการนั้นๆ ศูนย์บริการร่วม ได้จัดตั้งขึ้นตาม พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 30 กำหนดให้กระทรวงจะต้องจัดให้ส่วนราชการภายใน ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริการประชาชน ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่อเป็นการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยการปรับปรุงการบริการของรัฐ ให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว โปร่งใส และสนองตอบต่อความต้องการของประชนยิ่งขึ้น สำหรับรูปแบบ ศูนย์บริการร่วม มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย ขอบเขต และองค์ประกอบ ของแต่ละหน่วยงานราชการ “ศูนย์บริการร่วม” คือ หน่วยให้บริการประชาชน ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง โดยความร่วมมือของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานในกำกับของรัฐ (รัฐวิสาหกิจ) และหน่วยงานภาคเอกชน นำงานบริการของแต่ละหน่วยงาน ทั้งที่มีและไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาร่วมให้บริการ ณ จุดบริการเดียว พร้อมทั้งมีการจัดระบบงาน เพื่อให้เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง สามารถปฏิบัติงานให้บริการแทนกันได้ ณ ศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้สามารถขอรับบริการได้หลายเรื่องพร้อมกันในคราวเดียว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสอบถาม การขอทราบข้อมูล/ข่าวสาร การยื่นเรื่อง และการขออนุญาต หรือการขออนุมัติในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกันโดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว “ศูนย์บริการร่วมสถานที่ราชการ หรือเรียกว่า ศูนย์บริการร่วม” เป็นหน่วยให้บริการประชาชนที่มีสถานที่ให้บริการตั้งอยู่ในสถานที่ราชการ โดยนำงานบริการที่หลากหลาย มีขั้นตอนการดำเนินการหลายขั้นตอน หรือต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในหลายหน่วยงาน ที่อยู่ต่างพื้นที่ หรือในพื้นที่เดียวกัน แต่ต่างอาคาร หรือต่างชั้น มารวมให้บริการ ณ จุดเดียว เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย ทั้งนี้ ศูนย์บริการร่วม อาจให้บริการเฉพาะในเวลาราชการ หรือทั้งในและนอกเวลาราชการก็ได้ การนำกระบวนงานตามภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่กระทรวงมหาดไทยได้แนะนำให้ลดระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน จำนวน 17 กระบวนงาน และกระบวนงานเพิ่มเติม มาให้บริการ ณ ศูนย์บริการร่วม 1.จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ 2.จัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน 3.จัดเก็บภาษีป้าย 4.ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร 5.สนับสนุนน้ำอุปโภคบริโภค 6.ช่วยเหลือสาธารณภัย 7.รับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ 8.แจ้งเกิด 9.แจ้งตาย 10.ย้ายที่อยู่ 11.กำหนดเลขที่บ้าน 12.ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน (ครั้ง แรก) 13.ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน (บัตรเดิมหมดอายุ) 14.การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 15.การขออนุญาตจดตั้งตลาด 16.การขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร 17.การขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาถารณะ 18.การรับขึ้นทะเบียนเพื่อรับเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ รายใหม่ 19.การรับแจ้งและยืนยันการมีชีวิตเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ในปีงบประมาณถัดไป กระบวนงานเพิ่มเติม จำนวน 2 กระบวนงาน 1.การรับขึ้นทะเบียนเพื่อรับเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ รายใหม่ 2.การรับแจ้งและยืนยันการมีชีวิตเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ในปีงบประมาณถัดไป
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลข่าวสาร คือ สิ่งที่สื่อความหมายให้ทราบถึงเรื่องราวหรือข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่ง เรื่องใดโดยในความหมายนี้เน้นที่การสื่อความหมายเป็นหลัก มิได้เน้นที่รูปร่างหรือรูปแบบของความเป็นข้อมูลข่าวสาร กล่าวคือ สิ่งที่เป็นข้อมูลข่าวสารได้นั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปร่าง หรือรูปแบบของกระดาษที่มีข้อความหรือแฟ้มเอกสาร แต่หมายความรวมถึงสิ่งต่างๆ ที่อาจจะปรากฏให้เห็นเป็นข้อความ ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง และสิ่งอื่นๆที่ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจและรู้ความหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นโดยสภาพขอสิ่งนั้นเอง หรือโดยผ่านกรรมวิธีใดๆ เช่น ประจุไฟฟ้าแม่เหล็ก ฟิล์ม ไมโครฟิล์ม รูปภาพ เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ คอมพิวเตอร์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette) คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครอง หรือควบคุมดูแล ของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งถือเป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในบังคับแห่ง พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ดังนั้น ความหมายของคำว่า “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” จึงให้ความสำคัญต่อลักษณะหรือสิทธิในการยึดถือข้อมูลข่าวสารนั้นว่าอยู่ในขอบเขตอำนาจครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐหรือไม่ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ หรือเกี่ยวข้อกับบุคคลหรือเอกชนใดๆ ก็ได้ ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการได้อย่างไร ? พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กำหนดวิธีในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารไว้ 4 วิธี ดังนี้ 1.) เปิดเผยโดยการนำข้อมูลข่าวสารที่กฎหมายกำหนดลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีนี้ประกอบด้วย ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการสร้างและการจัดการองค์กร สรุปอำนาจหน้าที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูล ข่าวสาร กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หรือหนังสือเวียน ที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องและข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด 2.) เปิดเผยโดยการตั้งแสดงไว้ในสถานที่ที่หน่วยงานจัดเตรียมไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ด้วยตนเอง ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีนี้ประกอบด้วย ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน นโยบายหรือการตีความหมายที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 (4) แผนงาน/โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำลังดำเนินการคู่มือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน สิ่งพิมพ์ที่ได้อ้างถึง มาตรา 7 วรรคสอง สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็น การผูกขาด ตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชน ในการจัดทำบริการสาธารณะ มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี และข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด 3.) เปิดเผยตามที่ประชาชนมีคำขอเป็นการเฉพาะราย ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่จะขอให้เปิดเผยโดยวิธีนี้ เป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่นอกเหนือจากข้อ 1 และข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้น 4.) การเปิดเผยโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ข้อมูลข่าวสารที่จะขอให้เปิดเผยโดยวิธีนี้ คือ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสศึกษาค้นค้าเป็นการทั่วไป เมื่อได้ทราบถึงวิธีการเปิดเผยทั้ง 4 วิธี ดังกล่าวข้างต้นแล้ว กล่าวได้ว่าประชาชนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ สรุปได้ดังนี้ 1.) โดยการตรวจค้นได้จากราชกิจจานุเบกษา สำหรับข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 2.) โดยการใช้สิทธิเข้าตรวจดูได้ด้วยตนเอง ณ สถานที่ ที่หน่วยงานกำหนดและจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารนั้นไว้สำหรับข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 3.) โดยการไปใช้สิทธิขอดูโดยการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ ที่จัดกับหรือครอบครองดูแลข้อมูลข่าวสารที่ต้องการขอดูนั้น สำหรับข้อมูลข่าวสารของราชการปกติทั่วไป 4.) โดยการใช้บริการศึกษาค้นคว้า ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สำหรับข้อมูลข่าวสารที่เป็น “เอกสารประวัติศาสตร์” “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” หมายความว่าอย่างไร? “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” คือ ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เป็น “สิ่งเฉพาะตัว” ของบุคคล ไม่ว่าในแง่มุมใด เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติ สุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน เป็นต้น ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคลยัง ไม่ถือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากจะมีสิ่งบ่งชี้ตัวบุคคลด้วยว่าข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นของบุคคลใด โดยอาจเป็น รหัส หมายเลข รูปถ่าย หรือ สิ่งบ่งชี้อย่างอื่นก็ได้ โดยปกติคนเราจะมีความเป็นอยู่ส่วนตัวในการดำรงชีวิตระดับที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นนำไปเปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งอาจทำให้เราเกิดความไม่สบายใจ หรือรำคาญใจ ซึ่งมาตรา ๓๔ ของรัฐธรรมนูญ ได้รับรองว่าบุคคลมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว ผู้ใดจะรุกล้ำความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่นมิได้
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบ้านเช่า อาคาร ร้านค้า ตึกแถว บริษัท ธนาคาร โรงภาพยนตร์ แฟลต หอพัก คอนโดมิเนียม ร.ร.สอนวิชาชีพ โรงงานอุตสาหกรรม สนามมวย สนามกอล์ฟ ท่าเรือ บ่อนไก่ ฟาร์มสัตว์ คลังสินค้า และบริเวณที่ดินที่ปกติใช้ร่วมรับโรงเรือนนั้น โดยมีห้วงเวลาในการจัดเก็บประจำทุกวันที่ 1 มกราคม ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี 1.เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับมอบอำนาจยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี 2.ถ้าค่าภาษีเกิน 9,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน 3.ผู้รับการประเมินต้องชำระเงินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน อัตราค่าปรับ 1.ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการมีความผิด โทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี 2.ผู้ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์มีความผิดต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่ เกิน 5 ปี 3.ถ้าชำระภาษีเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ให้เสียเงินเพิ่ม ดังนี้ 4.ไม่เกิน 1 เดือน เสียเงินเพิ่ม 2.5% ของค่าภาษี 5.เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนเสียเงินเพิ่ม 5% ของค่าภาษี 6.เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่ม 7.5%ของค่าภาษี 7.เกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือนเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี 8.เกิน 4 เดือนขึ้นไปให้ยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยมิต้องขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้น โดยมีห้วงจัดเก็บประจำทุก ภาษีบำรุงท้องที่ วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี อัตราภาษี เสียตามราคาปานกลางของที่ดิน มีหลายอัตรา ขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ ได้โดยตรง ที่ดินว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ จะต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่า ของอัตราปกติ การอุทธรณ์การฟ้องศาล ยื่นอุทธรณ์ผ่านเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและการชำระภาษี 1.ให้เจ้าของที่ดิน,ผู้ครอบครองที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ,ท.5) และชำระภาษีปีละครั้ง ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี 2.ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงให้ยื่นแบบนับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์ อัตราโทษและค่าปรับ 1.ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมิน 2.ยื่นรายการไม่ถูกต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม 3.ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม 4.ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่ 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม 24% ต่อปี ของค่าภาษี ภาษีป้าย ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าหรือโฆษณาหรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น โดยมีห้วงเวลาการจัดเก็บประจำทุกวันที่ ภาษีป้าย 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี อัตราภาษี 1.ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตร.ซม. 2.ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับรูปภาพ หรือเครื่องหมายอื่นคิดอัตรา 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม. 3.ป้ายดังต่อไปนี้คิดอัตรา 40 บาทต่อ 500 ตร.ซม. 1.ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ 2.ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ 4.ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้ว เสียภาษีต่ำกว่า 200 บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี 1.ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ตั้งแต่ 2 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่ติดตั้งใหม่ให้ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 15 วัน 2.ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่ 3.ถ้าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน อัตราโทษและค่าปรับ 1.ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน เดือนมีนาคมหรือหลังติดตั้งป้าย 15 วันเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี 2.ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้องทำให้ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม 3.ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแจ้งการประเมินเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือน ของค่าภาษีเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ใบอนุญาตกิจการประเภทต่างที่ต้องมีการควบคุม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และมาตรา 32, 54 และ 63 แห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ออกข้อบังคับไว้ให้กิจการประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุม 1.กิจการที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่,หมู ฯลฯ 2.กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม 3.กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร 4.กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล 5.กิจการที่เกี่ยวกับการบริการเช่น ตู้เกมส์ ร้านเสริมสวย หอพัก ฯลฯ 6.กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอเช่นการเย็บผ้าด้วยเครื่องจักร ซักอบรีด ฯลฯ 7.กิจการที่เกี่ยวกับ หิน ดิน ทราย ซีเมนต์ 8.กิจการที่เกี่ยวกับยา 9.กิจการที่เกี่ยวกับไม้ 10.กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี แก๊ส น้ำมัน เป็นต้น เอกสารที่ต้องใช้ในการขออนุญาต 1.บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 2.สำเนาทะเบียนบ้าน 3.ใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาคาร 4.เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าสมควร เรียกเพิ่มเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต อัตราโทษและค่าปรับ 1.ผู้ประกอบการค้ารายใด ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 2.ไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนดเวลาเสียค่าปรับเพิ่ม 20% ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่จะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการก่อนกำหนด การเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบังคับนี้ ติดต่อชำระภาษี กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแมด อำเภอบุญฑริก จังหวัดอุบลราชธานี 34230. โทร. 045-953184 แฟกซ์. 045-953185 อีเมล klang@banmaed.go.th เว็บไซต์ www.banmaed.go.th "ท้องถิ่นดี ภาษีช่วย ท้องถิ่นสวย ภาษีสร้าง"

× องค์การบริหารส่วนตำบลคําครั่ง