ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงาน สภาพทั่วไป
1. ที่ตั้งและอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลคำครั่ง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 10 ตำบลคำครั่ง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ 46 ตารางกิโลเมตร หรือ 28,750 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ม.1 - ม. 10 เขตการปกครองเป็น 10 หมู่บ้านดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านคำครั่ง
หมู่ที่ 2 บ้านคำครั่ง
หมู่ที่ 3 บ้านโนนสว่าง
หมู่ที่ 4 บ้านนานวล
หมู่ที่ 5 บ้านนาสมบูรณ์
หมู่ที่ 6 บ้านนาประดู่
หมู่ที่ 7 บ้านคำครั่ง
หมู่ที่ 8 บ้านบูรพา
หมู่ที่ 9 บ้านนานวลใต้พัฒนา
หมู่ที่ 10 บ้านดอนชี
และมีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อพื้นที่ของตำบลกุดประทายและตำบลนาโพธิ์ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศใต้ ติดต่อพื้นที่ของตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันออก ติดต่อพื้นที่ของตำบลนาโพธิ์ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อพื้นที่ของตำพลโพนงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
2. สภาพภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 140 - 150 เมตร
3. สภาพภูมิอากาศ
องค์การบริหารส่วนตำบลคำครั่ง ได้รับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พัดเอาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งเข้ามา และยังได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดเอาฝนและความชื้นเข้ามา ทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในรอบปีต่างกัน แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาวและฤดูร้อน ดังต่อไปนี้
1) ฤดูฝน อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นลมที่ก่อให้เกิดฝนตกทั่วประเทศ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,100-1,300 มิลิเมตร และอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียส
2) ฤดูหนาว อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 24 องศาเซลเซียส
3) ฤดูร้อน อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นลมร้อนพัดมาจากทะเลจีนใต้ อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียสและสูงสุดในเดือนเมษายนและพฤษภาคม
4. โครงสร้างพื้นฐาน (ระบบบริการขั้นพื้นฐาน)
1) การคมนาคม
เขตองค์การบริหารส่วนตำบลคำครั่งมีการคมนาคมติดต่อกับอำเภอต่างๆตำบลคำครั่ง ประกอบด้วย ถนนลาดยางจำนวน 3 สาย และถนนลูกรังจำนวน 8 สาย (การจัดเวทีชุมชนตำบลคำครั่ง, 7 มีนาคม 2550) ดังตารางที่ 3-1
2) ด้านการสาธารณูปโภคและการสื่อสาร
2.1. การไฟฟ้า
การดำเนินกิจการ ไฟฟ้าให้กับประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคำครั่ง อยู่ในความรับผิดชอบและดำเนินงานโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเดชอุดม ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนอย่างทั่วถึง
ข้อมูลการไฟฟ้า
ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ 2,000 หลังคาเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้ 389 หลังคาเรือน
2.2. การประปา
ระบบจำหน่ายน้ำประปา ของหมู่บ้านซึ่งก่อสร้างโดยหน่วยงาน รพช. , กรมทรัพยากรธรณี , กรมโยธาธิการ , องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบลคำครั่ง ครอบคลุมจำนวน 10 หมู่บ้าน มีน้ำใช้ทุกหลังคาเรือน
ข้อมูลการประปา ประจำปี 2550
ครัวเรือนที่ใช้บริการน้ำประปา จำนวน 2,100 หลังคาเรือนหน่วยงานเจ้าของกิจการ
ประปา ของส่วนท้องถิ่น - แห่ง
ประปาภูมิภาค - แห่ง
ประปาหมู่บ้าน 10 แห่ง
น้ำประปาที่ผลิตได้ จำนวน 100,000 ลิตร/วัน
น้ำประปาที่ต้องการใช้ จำนวน 110,000 ลิตร/วัน
แหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา คือ ( / ) แหล่งน้ำใต้ดิน ( / ) แหล่งน้ำผิวดิน
มีแหล่งน้ำสำหรับผลิตน้ำประปาหรือไม่ ( ) ไม่มี ( / ) มี (ระบุ)..............................................
2.3 การโทรคมนาคม
ระบบการสื่อสารที่มีให้บริการ เช่นโทรศัพท์ การไปรษณีย์โทรเลข และการสื่อสารในรูปแบบอื่นๆ ดังต่อไปนี้
(1) การไปรษณีย์โทรเลข ใช้บริการที่ทำการไปรษณีย์ อำเภอเดชอุดม ซึ่งอยู่ในความควบคุมของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
(2) โทรศัพท์ เครือข่ายโทรศัพท์ตำบลคำครั่ง มีตู้โทรศัพท์ชุมสายอำเภอเดชอุดมจำนวน 11 ตู้กระจายภายในตำบล ส่วนใหญ่ใช้งานไม่ได้เพราะชำรุดขาดการบำรุงรักษา
5. ด้านสังคม
1) ประชากร
ปัจจุบันราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคำครั่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมรองลงมาเป็นอาชีพค้าขาย ข้าราชการ ผู้ใช้แรงงาน โดยในเขตองค์กรบริหารส่วนตำบลคำครั่ง มีประชากรทั้งสิ้น 6,415 คน แยกเป็นประชากรชาย 3,257 คน ประชากรหญิง 3,158 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,479 ครัวเรือน
2) การศึกษาและศิลปวัฒนธรรม
ราษฎรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้พูดในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็น ภาษาอีสาน วัฒนธรรมและประเพณีในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมอีสาน ในปัจจุบันมีโรงเรียนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคำครั่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 4 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 แห่ง ดังนี้
ข้อมูลการศึกษา
โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา - แห่ง
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ 4 แห่ง เอกชน - แห่ง
อื่นๆระบุ - แห่ง
โรงเรียนระดับ,ศูนย์เด็กเล็ก รัฐบาล 4 แห่ง เอกชน - แห่ง
โรงเรียนระดับประถม รัฐบาล 4 แห่ง เอกชน - แห่ง
โรงเรียนระดับมัธยม รัฐบาล - แห่ง เอกชน - แห่ง
วิทยาลัย รัฐบาล - แห่ง เอกชน - แห่ง
สถานพักผ่อนหย่อนใจ
สนามกีฬาท้องถิ่น 1 แห่ง สวนสาธารณะ - แห่ง อื่นๆ (ระบุ)
3) การศาสนา
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ อิทธพลของศาสนาจึงเข้ามามีบทบาทมากในการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้งศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ปัจจุบันในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีวัดอยู่ในพื้นที่จำนวน 6 แห่ง - สำนักสงฆ์
4) การสาธารณสุข
มีสถานบริการด้านสุขภาพ จำนวน 1 แห่ง สภาพความเป็นอยู่ ในด้านสุขภาพและอนามัยของราษฎรไม่ดีพอ ยังมีปัญหาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ
ข้อมูลสาธารณสุขตำบลคำครั่ง
- ศูนย์บริการสาธารณสุข/สถานีอนามัย จำนวน 1 แห่ง ชื่อศูนย์บริการสาธารณสุขบ้านคำครั่ง หมู่ที่ 1 ตำบลคำครั่ง
- สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 2 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 3 แห่ง
- อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำตำบล จำนวน 143 คน
ศักยภาพด้านบุคลากรของคณะผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลคำครั่ง
การแบ่งส่วนการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลคำครั่ง ได้แบ่งส่วนการบริหารออกเป็นสำนักและส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
รวมพนักงานส่วนตำบล จำนวน 14 คน
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 17 คน
พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 5 คน รวม 37 คน